ยินดีต้อนรับสู่เว็บสาขาพัฒนาสังคม ตอนนี้เว็บบอร์ดใหม่ใช้ได้แล้วนะคะ ลองใช้กันดูนะคะ ส่วนเรื่องข่าวสารของนิสิตและคณาจารย์ อยากจะให้นิสิตทุกร่นมีส่วนในการร่วมจัดทำ โดยการสร้าง Blog รุ่นตนเอง (เพื่อที่จะสะดวกในการ Update ได้ด้วยตนเอง) แล้วนำมาเชื่อมลิ้งค์กับเว็บของสาขาเราค่ะ

วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2551

ประมวลภาพศึกษาดูงานเชียงราย

วิธีการดูไฟล์

กดเลือกที่เครื่องหมายเล่นไฟล์ ถ้าตัวจับเวลาวิ่งแล้ว

ห้ามกดซ้ำ ให้รอจนกว่าจะโหลดไฟล์ครบหมด

คลิปนี้มีความยาว 2.55 นาที

ถ้าเล่นไปแล้วหยุดกลางคัน ให้รอซักพัก แสดงว่ายังโหลดไม่หมด

ถ้ารอนานแล้วไม่เล่นต่อ ให้ทำการ Refresh หน้านี้ใหม่ค่ะ

หมายเหตุ :

1.ควรสมัครสมาชิกก่อนนะคะจะทำให้โหลดไฟล์เร็วกว่า

2.ควรใส่หูฟัง หรือเปิดลำโพงด้วยนะคะ

ข้อแนะนำในการแสดงความคิดเห็น

- ต้องสมัครสมาชิกก่อนนะคะ

- กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551

อาจารย์ประจำสาขาวิชาพัฒนาสังคม

ชื่อ – นามสกุล: นางสุกมล มุ่งพัฒนสุนทร
ตำแหน่ง : รองหัวหน้าสำนักศิลปศาสตร์ฝ่ายบริหาร,
หัวหน้าสาขาวิชาพัฒนาสังคม,
ผู้ประสานโครงการพิเศษ (พัฒนาสังคม)
วัน/เดือน/ปีเกิด : 23 ธันวาคม 2520
ที่อยู่ : สาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา
เบอร์โทรติดต่อ : 1307
e – mail : sukamonm@nu.ac.th
sukamon_m@hotmail.com

ประวัติการศึกษา (เรียงจากล่าสุด) :
ระดับปริญญาเอก -
ระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2547
ระดับปริญญาตรี สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543

ประวัติผลงาน (เรียงจากล่าสุด) :
- ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมบริโภควัตถุนิยมของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา
- ปัจจัยทางจิตสังคมและลักษณะทางพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรักษ์สัตว์ของนักเรียนวัยรุ่นชายในชนบท, วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2546

รางวัล / เกียรติประวัติ (เรียงจากล่าสุด) :
- รางวัลผลงานการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปี 2548 ประเภทวิทยานิพนธ์
- ทุนอุดหนุนวิทยานิพนธ์ จากทบวงมหาวิทยาลัย, 2546.
- ประกาศเกียรติคุณรางวัลเรียนดี จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2544.

ความเชี่ยวชาญ :
- การวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์
- ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ
- การสร้างมาตรวัดและการออกแบบเครื่องมือในการวิจัย
- การใช้โปรแกรม SPSS/FW สำหรับการวิเคราะห์ประมวลผลการวิจัยทางสังคมศาสตร์

ความสนใจ :
- การวิจัยและพัฒนามนุษย์
- การศึกษาสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยในสภาวะการเปลี่ยนแปลง
- เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ และการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
- การพัฒนาแบบวัดและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
- การใช้โปรแกรมต่าง ๆ ในการวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์


ชื่อ – นามสกุล : นางสาวณัฏฐิมา มากชู
ตำแหน่ง : อาจารย์ประจำสาขาวิชาพัฒนาสังคม
วัน/เดือน/ปีเกิด : 12 ตุลาคม 2518
ที่อยู่ : สาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา
อ.เมือง จ.พะเยา
เบอร์โทรติดต่อ : 054 466660
E – mail : tairs12@hotmail.com


ประวัติการศึกษา (เรียงจากล่าสุด) :
ระดับปริญญาเอก กำลังศึกษาต่อ
ระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ระดับปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต (การปกครอง-บริหาร)

รางวัล / เกียรติประวัติ (เรียงจากล่าสุด) :
วิทยานิพนธ์ดีเด่น ประจำคณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ประจำปี 2545

ความเชี่ยวชาญ :
งานนโยบายและการวางแผน

ความสนใจ :
1. ให้คำปรึกษาการวางแผน หรือโครงการ
2. อาสาพัฒนาในพื้นที่ห่างไกล


ชื่อ – นามสกุล : นางสาวเสาวลักณ์ ลิ้มศิริวงศ์
ตำแหน่ง : อาจารย์
วัน/เดือน/ปีเกิด :
ที่อยู่ : สาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา
เบอร์โทรติดต่อ : 1307
e – mail : pick_lim@hotmail.com



ประวัติการศึกษา (เรียงจากล่าสุด) :
ระดับปริญญาเอก ..........................................................
ระดับปริญญาโท ศศ.ม. (พัฒนาสังคม) มหาวิทยาลัยนเรศวร
ระดับปริญญาตรี ร.บ. (รัฐศาสตรบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประวัติผลงาน (เรียงจากล่าสุด) :
- การศึกษาสภาพและปัญหากระบวนการจัดทำแผนชุมชน กรณีศึกษา:เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพิษณุโลก
- เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ล้อม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก

ความสนใจ :
- ด้านการพัฒนาศักยภาพของชุมชน การพัมนาท้องถิ่น เครือข่ายการพัฒนา ทุนทางสังคม การวางแผน โครงการ


ชื่อ – นามสกุล : น.ส.ประไพพิศ โอฬารวัฒน์
ตำแหน่ง : อาจารย์
วัน/เดือน/ปีเกิด : 17 ธันวาคม 2523
ที่อยู่ : 139 ม.1 ต.จรเข้ร้อง อ.ไชโย จ.อ่างทอง 14140
เบอร์โทรติดต่อ :
E – mail : OLANWAT@HOTMAILCOM


ประวัติการศึกษา (เรียงจากล่าสุด) :
ระดับปริญญาเอก -
ระดับปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตย์ สหสาขาพัฒนามนุษย์และสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระดับปริญญาตรี สังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิตย์ โทกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติผลงาน (เรียงจากล่าสุด) :
- โครงการวิจัยเรื่องธรรมาภิบาลการจัดการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดพะเยา
- โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การวางแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เกาะลันตาใหญ่”
- หนังสือเรื่อง “แบบเรียนก.ไก่ฉบับมอแกน” และ “สื่อการเรียนท้องถิ่นให้กับเด็กมอแกน”

ความเชี่ยวชาญ :
ชุมชนเมือง

ความสนใจ :
พื้นที่สาธารณะ
ประชาสังคม


ชื่อ – นามสกุล : ชยาณัญ มณีวรรณ
ตำแหน่ง : อาจารย์
วัน/เดือน/ปีเกิด : 24 มิถุนายน 2525
เบอร์โทรติดต่อ : 084 – 6142995
E – mail : bee_p@hotmail.com


ประวัติการศึกษา (เรียงจากล่าสุด) :
ระดับปริญญาโท สาขาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2548
ระดับปริญญาตรี สาขารัฐประศาสนศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2546
ประวัติผลงาน (เรียงจากล่าสุด) :
- โครงการวางแผนและจัดทำผังประเทศ ภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2549
- วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตเรื่องการให้บริการรถขนส่งสาธารณะ ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2548
- โครงการบูรณาการข้อมูลอุตสาหกรรม สำนักปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม 2548
- โครงการศึกษาการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2547
- โครงการวิจัย การศึกษาศักยภาพการบริหารงานเทศบาลตำบล ในจังหวัดเชียงใหม่ คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2546

รางวัล / เกียรติประวัติ (เรียงจากล่าสุด) :
- รางวัลเรียนดีเหรียญเงิน ประเภทเรียนดีตลอดหลักสูตร สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2546
- รางวัลเรียนดีเหรียญทองแดง ประจำปีการศึกษา 2545



ชื่อ – นามสกุล : นางสาวขวัญ สงวนเสริมศรี
ตำแหน่ง : อาจารย์
วัน/เดือน/ปีเกิด : 14 ต.ค. 2497
ที่อยู่ : 309 หมู่ 5 ต. ท่าวังทอง อ.เมือง จ.พะเยา
E – mail : kwans@ nu.ac.th





ประวัติการศึกษา (เรียงจากล่าสุด) :
ระดับปริญญาเอก กำลังศึกษาต่อ
ระดับปริญญาโท สคม. (สิ่งแวดล้อม)
ระดับปริญญาตรี ศศบ. (ประวัติศาสตร์)



ชื่อ – นามสกุล : มนตรา พงษ์นิล
ตำแหน่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์
วัน/เดือน/ปีเกิด : 5 พฤศจิกายน 2515
ที่อยู่ : 243 หมู่ที่ 8 บ้านแม่ต๋ำบุญโยง ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
เบอร์โทรติดต่อ : 0 5446 6666 ต่อ 1310
E – mail : pmontra@hotmail.com



ประวัติการศึกษา (เรียงจากล่าสุด) :
ระดับปริญญาเอก -
ระดับปริญญาโท มานุษยวิทยามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
ระดับปริญญาตรี สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2537

ประวัติผลงาน (เรียงจากล่าสุด) :
มนตรา พงษ์นิล. 2551. “สิทธิชุมชนกับการกู้วัดติโลกอารามในกว๊านพะเยา” ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัย
รังสิต ประจำปี 2551 ครั้งที่ 2. วันที่ 3 เมษายน 2551 อาคารอิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต. (กำลัง
ดำเนินการเตรียมการประชุมและตีพิมพ์ต่อไป)
มนตรา พงษ์นิล. 2551. “กะเทยในมหาวิทยาลัย : ความหลากหลายของอัตลักษณ์ทางเพศ” ใน การประชุม
ประจำปีเพศวิถีศึกษาในสังคมไทย ครั้งที่ 1. วันที่ 7-8 มกราคม 2551. โรงแรมรัตนโกสินทร์ กทม.
มนตรา พงษ์นิล. 2550. “ประวัติศาสตร์การพัฒนาในอาณาบริเวณกว๊านพะเยา” ใน การประชุมวิชาการประจำปี
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระดับชาติ ครั้งที่ 3. ขอนแก่น : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, หน้า 537-544.
มนตรา พงษ์นิลและคณะ. 2550. รายงานวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่อง การศึกษาตัวแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนใน
ระบบหลักประกันสุขภาพระดับชุมชนระหว่างกองทุนของภาครัฐ องค์การบริหารส่วนตำบลและกองทุน
สุขภาพชุมชน พื้นที่นำร่อง : กรณีศึกษาตำบลบ้านปิน ตำบลบ้านถ้ำ ตำบลหนองหล่ม และตำบลคือเวียง
อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. (ทุนอุดหนุนวิจัยจากมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ)
มนตรา พงษ์นิล. 2549. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง การจัดการความรู้อย่างมีส่วนร่วมเพื่อพึ่งพาตนเองของ
เครือข่ายศูนย์รวมน้ำใจธนาคารหมู่บ้าน 4 ตำบล อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. (ทุนอุดหนุนวิจัยจาก
สถาบันพระปกเกล้า)
มนตรา พงษ์นิล. 2549. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง พลวัตวัฒนธรรมของประวัติศาสตร์การพัฒนาในอาณา
บริเวณกว๊านพะเยา. (ทุนอุดหนุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ)
มนตรา พงษ์นิล. 2548. “ภูมิปัญญากว๊านพะเยา : บนเส้นทางผลิตภัณฑ์ชุมชนกับคนกินน้ำแม่เดียวกัน” ใน
หนังสือรวมบทความเรื่อง ภูมิปัญญากับการสร้างพลังชุมชน. เอกสารวิชาการลำดับที่ 44. ศูนย์
มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). กรุงเทพฯ : โอ.เอส.การพิมพ์, หน้า 7 – 62.
มนตรา พงษ์นิลและคณะ. 2547. รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่อง ประมวลองค์ความรู้ของโครงการส่งเสริมสุขภาพใน
เขตภาคเหนือตอนบน. (ทุนอุดหนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)
มนตรา พงษ์นิล. 2547. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง กว๊านพะเยาในบริบทการพัฒนา : ความหมายและ
ปฏิบัติการ. (ทุนอุดหนุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา)
มนตรา พงษ์นิลและคณะ. 2547. รายงานวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมฉบับสมบูรณ์เรื่อง ภูมิปัญญา การ
พัฒนาและการใช้ประโยชน์จากหนองเล็งทราย. (ทุนอุดหนุนวิจัยจากมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน)
จันทร์ติ๊บ ฟูเฟืองและคณะ. 2546. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง วิถีชีวิตและสถานภาพของชาวประมงกว๊าน
พะเยา. (ทุนอุดหนุนวิจัยจากมูลนิธิชุมชนไท)---ผู้ร่วมวิจัย
มนตรา พงษ์นิล. 2541. พหุลักษณ์ของสำนึกทางชาติพันธุ์ : การจัดระเบียบทางเศรษฐกิจการเมืองของหมู่บ้านม้ง
ภูสวย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์มานุษยวิทยามหาบัณฑิต. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะรัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผลงานที่กำลังดำเนินการวิจัย
เวียงในจังหวัดพะเยา : จากชุมชนโบราณสู่การพัฒนาเป็นระบบกิจกรรมนิสิตในสถาบันอุดมศึกษา
ประตูเมืองพะเยา : การเปลี่ยนแปลงบทบาทและสถานภาพในบริบททางประวัติศาสตร์
วัยรุ่นกับวัฒนธรรมของความสัมพันธ์ทางเพศ : กรณีศึกษานักเรียน นิสิตนักศึกษาในอำเภอเมืองพะเยา

รางวัล / เกียรติประวัติ (เรียงจากล่าสุด) :
-

ความเชี่ยวชาญ :
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาสังคม นิเวศวิทยาวัฒนธรรมกับการพัฒนา เพศวิถี

ความสนใจ :
ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาสังคม
นิเวศวิทยาวัฒนธรรมกับการพัฒนา เพศวิถี


ชื่อสกุล ปัทมา สมิตะสิริ
วัน-เดือน-ปีเกิด 27 กรกฎาคม 2504
อีเมลล์ pat2706@hotmail.com


ประวัติการศึกษา (เรียงจากล่าสุด) :
ระดับปริญญาเอก กำลังศึกษาต่อ
ระดับปริญญาโท จิตวิทยาโรงเรียน (วท.ม.)
ระดับปริญญาตรี สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา (ศศ.บ.)

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

โครงการศึกษาดูงานนิสิตสาขาวิชาพัฒนาสังคมชั้นปีที่ 3 จ.เชียงราย

เมื่อวันที่ 25 – 27 มกราคม พ.ศ. 2551 คณาจารย์ประจำสาขาวิชาพัฒนาสังคม และนิสิตสาขาวิชาพัฒนาสังคมชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา ได้มีการจัดโครงการไปศึกษาดูงาน ณ เทศบาลอำเภอแม่ใจ และที่หมู่บ้านจะแล ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย โดยวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาดูงานครั้งนี้ คือ 1) เพื่อให้นิสิตได้รับประสบการณ์ตรงจากการศึกษาดูงาน 2) เพื่อให้นิสิตได้นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการทำงานและชีวิตจริงในอนาคต 3) เพื่อให้นิสิตสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาองค์ความรู้ในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติในรายวิชา 4) เพื่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ ซึ่งรายวิชาที่ไปศึกษาดูงานครั้งนี้ ได้แก่ การบริหารการพัฒนาสังคม นิเวศวิทยาวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ปัญหาสังคมและประเด็นสำคัญด้านการพัฒนา


ภาพที่ 1 เข้ารับฟังการบรรยายหลักการบริหารการพัฒนาจากนายกเทศบาลอำเภอแม่ใจ

จากการไปศึกษาดูงานที่เทศบาลอำเภอแม่ใจ ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากนายกเทศบาลอำเภอแม่ใจ นายสุรเกียรติ ได้สละเวลาในการให้คำแนะนำและข้อคิดดี ๆ เกี่ยวกับหลักการบริหารจัดการงานพัฒนาสังคมแก่นิสิต อีกทั้งนิสิตยังได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาในกระชัง และการทำปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์ จากวิทยากรชาวบ้าน และวิทยากรทั้งสอง ได้นำนิสิตชมการสาธิตการผลิตปุ๋ย และเยี่ยมชมกระชังเลี้ยงปลาบริเวณหนองเล็งทราย ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวอำเภอแม่ใจ



ภาพที่ 2 "เหนื่อยนักพักเสียก่อน" ณ บริเวณศูนย์แสดงสินค้า พิพิธภัณฑ์ชาวเขา


ต่อจากนั้น คณะนิสิตและอาจารย์ได้เดินทางไปยังมูลนิธิกระจกเงา เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าชุมชนหมู่บ้านจะแล ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าลาหู่ (ภาษาทางการ) หรือที่เรามักเรียกติดปากกันว่า “มูเซอ” ทางมูลนิธิได้จัดเตรียมหัวข้อสำหรับให้นิสิตศึกษาดูงานใน 4 ประเด็น คือ 1) วัฒนธรรมชนเผ่า และประเพณีของชุมชน 2) การประกอบอาชีพ และปัญหาพื้นที่ทำกินบนพื้นที่สูง 3) วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) การศึกษาของเด็ก ๆ ในชุมชน โดยนิสิตจะทำการแบ่งกลุ่มเพื่อไปศึกษาแต่ละหัวข้อตามความสนใจ


ภาพที่ 3 การเต้น “จะคึเว” ของชนเผ่าลาหู่ หมู่บ้านจะแล ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย


ในระหว่างการเข้าศึกษาพื้นที่ชุมชนบ้านจะแลนั้น ได้มีกิจกรรมรอบกองไฟเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอันดีงามระหว่างคนพื้นที่สูง กับคนพื้นราบ โดยชนเผ่าลาหู่ ได้แสดงการละเล่นเต้นรำประจำเผ่าที่เรียกว่า “จะคึเว” ผู้ชายชาวลาหู่จะเป็นผู้เล่นเครื่องดนตรีประจำเผ่า เช่น กลอง เครื่องเป่า พร้อมทั้งเต้นรำไปด้วย ส่วนผู้หญิงชาวลาหู่ จะเต้นรำอย่างเดียว การเต้นรำจะเต้นรำวนเป็นวงกลม และเปิดโอกาสให้คณาจารย์และนิสิตสาขาวิชาพัฒนาสังคม ได้มีโอกาสร่วมเต้นรำไปด้วย อีกทั้งนิสิตบางคนยังได้มีโอกาสสวมชุดประจำชนเผ่าลาหู่ สำหรับในค่ำคืนนี้นิสิตได้รับการต้อนรับจากชาวบ้านในหมู่บ้านจะแล ให้พักอาศัยร่วมกับชาวบ้านชนเผ่าลาหู่ โดยสมาชิกในหมู่บ้านโดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ จะทำการเลือกนิสิตเข้าไปพักบ้านของเค้าด้วยตนเอง ในเย็นวันนั้นจะมีการประกอบอาหารเย็นร่วมกันระหว่างคณาจารย์และนิสิต กับชาวบ้านที่ตนเองได้รับเลือกไปพักอาศัยร่วมอยู่ด้วย


จากการไปศึกษาดูงานในครั้งนี้ ทำให้คณาจารย์และนิสิต ต่างก็ได้รับความประทับใจ ตั้งแต่ในเรื่องของการต้อนรับเป็นอย่างดีจากเทศบาลอำเภอแม่ใจ การร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งกับเพื่อนนิสิตด้วยกันเอง กับคณาจารย์ และกับชาวบ้านจะแล และได้รับความรู้ที่ไม่สามารถหาได้ในห้องเรียนกลับมามากมาย สุดท้ายที่ลืมไปไม่ได้ คือ การได้ร่วมเดินทางข้ามเขาเป็นระยะทางประมาณ 7 กม. เพื่อเข้าสู่หมู่บ้านจะแล ทำให้คณาจารย์และนิสิต ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้มุมมองในด้านต่าง ๆ ซึ่งกันและกัน อีกทั้งเป็นการผูกสัมพันธ์อันดี ระหว่างนิสิตในชั้นปีเดียวกัน ได้มีโอกาสเห็นถึงความเสียสละ ความเมตตากรุณา ของเพื่อนร่วมชั้นปี ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดความสานสามัคคีในชั้นปีที่ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป


บทความโดย
อาจารย์สุกมล มุ่งพัฒนสุนทร
อาจารย์ประจำสาขาวิชาพัฒนาสังคม

สถิติผู้เยี่ยมชม